namfon

วันศุกร์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2555

แนะนำตัว





                              ชื่อ เด็กหญิง น้ำฝน ยุวพรม   ชื่อเล่น น้ำฝน  เลขที่  11  ม.3/3 คร้า :)

วันเสาร์ที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2555

วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา


วันเข้าพรรษา (บาลี: วสฺส, สันสกฤต: วรฺษ, อังกฤษ: Vassa, เขมร: វស្សា, พม่า: ) เป็นวันสำคัญในพุทธศาสนาวันหนึ่ง ที่พระสงฆ์เถรวาทจะอธิษฐานว่าจะพักประจำอยู่ ณ ที่ใดที่หนึ่ง ตลอดระยะเวลาฤดูฝนที่มีกำหนดเป็นระยะเวลา 3 เดือน ตามที่พระธรรมวินัยบัญญัติไว้ โดยไม่ไปค้างแรมที่อื่น หรือที่เรียกติดปากกันโดยทั่วไปว่า จำพรรษา ("พรรษา" แปลว่า ฤดูฝน, "จำ" แปลว่า พักอยู่) พิธีเข้าพรรษานี้ถือเป็นข้อปฏิบัติสำหรับพระสงฆ์โดยตรง ละเว้นไม่ได้ ไม่ว่ากรณีใด ๆ ก็ตาม การเข้าพรรษาตามปกติเริ่มนับตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 ของทุกปี (หรือเดือน 8 หลัง ถ้ามีเดือน 8 สองหน) และสิ้นสุดลงในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 หรือวันออกพรรษา
วันเข้าพรรษา (วันแรม 1 ค่ำ เดือน 8) หรือเทศกาลเข้าพรรษา (วันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 ถึง วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11) ถือได้ว่าเป็นวันและช่วงเทศกาลทางพระพุทธศาสนาที่สำคัญเทศกาลหนึ่งในประเทศไทย โดยมีระยะเวลาประมาณ 3 เดือนในช่วงฤดูฝน โดยวันเข้าพรรษาเป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาที่ต่อเนื่องมาจากวันอาสาฬหบูชา (วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8) ซึ่งพุทธศาสนิกชนชาวไทยทั้งพระมหากษัตริย์และคนทั่วไปได้สืบทอดประเพณีปฏิบัติการทำบุญในวันเข้าพรรษามาช้านานแล้วตั้งแต่สมัยสุโขทัย
สาเหตุที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตการจำพรรษาอยู่ ณ สถานที่ใดสถานที่หนึ่งตลอด 3 เดือนแก่พระสงฆ์นั้น มีเหตุผลเพื่อให้พระสงฆ์ได้หยุดพักการจาริกเพื่อเผยแพร่ศาสนาไปตามสถานที่ต่าง ๆ ซึ่งจะเป็นไปด้วยความยากลำบากในช่วงฤดูฝน เพื่อป้องกันความเสียหายจากการอาจเดินเหยียบย่ำธัญพืชของชาวบ้านที่ปลูกลงแปลงในฤดูฝน และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ช่วงเวลาจำพรรษาตลอด 3 เดือนนั้น เป็นช่วงเวลาและโอกาสสำคัญในรอบปีที่พระสงฆ์จะได้มาอยู่จำพรรษารวมกันภายในอาวาสหรือสถานที่ใดสถานที่หนึ่ง เพื่อศึกษาพระธรรมวินัยจากพระสงฆ์ที่ทรงความรู้ ได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์และสร้างความสามัคคีในหมู่คณะสงฆ์ด้วย
ในวันเข้าพรรษาและช่วงฤดูพรรษากาลตลอดทั้ง 3 เดือน พุทธศาสนิกชนชาวไทยถือเป็นโอกาสอันดีที่จะบำเพ็ญกุศลด้วยการเข้าวัดทำบุญใส่บาตร ฟังพระธรรมเทศนา ซึ่งสิ่งที่พิเศษจากวันสำคัญอื่น ๆ คือ มีการถวายหลอดไฟหรือเทียนเข้าพรรษา และผ้าอาบน้ำฝน (ผ้าวัสสิกสาฏก) แก่พระสงฆ์ด้วย เพื่อสำหรับให้พระสงฆ์ได้ใช้สำหรับการอยู่จำพรรษา โดยในอดีต ชายไทยที่เป็นพุทธศาสนิกชนเมื่ออายุครบบวช (20 ปี) จะนิยมถือบรรพชาอุปสมบทเป็นพระสงฆ์เพื่ออยู่จำพรรษาตลอดฤดูพรรษากาลทั้ง 3 เดือน โดยพุทธศาสนิกชนไทยจะเรียกการบรรพชาอุปสมบทเพื่อจำพรรษาตลอดพรรษากาลว่า "บวชเอาพรรษา"
นอกจากนี้ ในปี พ.ศ. 2551 รัฐบาลไทยได้ประกาศให้วันเข้าพรรษาเป็น "วันงดดื่มสุราแห่งชาติ" โดยในปีถัดมา ยังได้ประกาศให้วันเข้าพรรษาเป็นวันห้ามขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทั่วราชอาณาจักร ทั้งนี้เพื่อรณรงค์ให้ชาวไทยตั้งสัจจะอธิษฐานงดการดื่มสุราในวันเข้าพรรษาและในช่วง 3 เดือนระหว่างฤดูเข้าพรรษา เพื่อส่งเสริมค่านิยมที่ดีให้แก่สังคมไทย
สำหรับในปี พ.ศ. 2554 นี้ วันเข้าพรรษาตรงกับ วันเสาร์ที่ 16 กรกฎาคม ตามปฏิทินสุริยคติ

รักแม่ที่สุด


แม่เปรียบดั่ง ยอดสตรีที่ประเสริฐ
แม่…เลอเลิศหนึ่งในใจไม่เป็นสอง
แม่…สูงค่ากว่าหยาดเพชรเกร็ดสีทอง
เกินยกย่องด้วยล้านคำ…พร่ำพรรณนา

กลิ่นความรักหอมนวลอวลไออุ่น
มือละมุนเนียนนุ่มอุ้มโอบขวัญ
ทะนุถนอมตระกรองกอดยอดชีวัน
ประครองป้องผองภยันอันตราย

กี่สิบถ้อยร้อยคำรำพันพรอด
ที่ถ่ายทอด “คำรัก” หลากความหมาย
กี่เปรียบเปรยสรรหามาบรรยาย
ฤาเทียบสายใยรักจาก…มารดา

ครั้งที่ลูกยังเป็นเด็ก เล็กเล็กอยู่
แม่คือ “ครู” สอนอ่านเขียนเรียนภาษา
ให้คำเตือน…เสมือนแสงแห่งปัญญา
ให้วิชาคือ “รู้คิด” ที่ติดตน

ยามลูกเหนื่อยอนาทรแสนอ่อนล้า
ต้องการคำปรึกษาหาเหตุผล
แล้วหันมองรอบกาย…คล้ายมืดมน
ยังพบคนหนึ่ง…คือแม่…คอยแลมอง

แม่จ๋า…แม่คือยอดสตรีที่ประเสริฐ
แม่…เลอเลิศหนึ่งในใจไม่เป็นสอง
แม่…สูงค่ากว่าหยาดเพชรเกร็ดสีทอง
เกินยกย่องด้วยล้านคำ…พร่ำพรรณนา

หอมกลิ่นความรักนวลอวลไออุ่น
ระลึกคุณ แม่โอบอุ้มคุ้มเกศา
มือของลูกจึงเรียงร้อยถ้อยวาจา
เป็นมาลาหอม “รัก” กราบจากใจ